เมขลาในประเทศต่าง ๆ ของ เมขลา

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมขลาขณะช่วยพระมหาชนกจากเรืออัปปาง

เรื่องราวของเมขลา มักปรากฏตามจิตกรรมฝาผนังของวัดในประเทศอุษาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาโดยภาพมาจากฉากในเรื่อง พระมหาชนก[3] โดยในไทยและกัมพูชาได้มีการแสดง "เมขลาล่อแก้ว" ทั้งนี้ในราชสำนักกัมพูชาได้มีพิธีกรรมขอฝนด้วยการเต้นดังกล่าวเพื่อเป็นการบวงสรวงเทวดาเพื่อบังคับฝน ถือเป็นเรื่องสวัสดิมงคล[6][14] โดยชาวเขมรเชื่อว่าแก้วของเมขลาคือไฟแลบ แต่ตามหลักปรณัมศาสตร์ ควรเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์เสียมากกว่า[15] ส่วนในไทยโดยมากเชื่อว่าเมขลาคือเทพธิดารักษาสมุทรไท[4][11]

ในอดีตชนชั้นสูงในไทยมักระบำเบิกโรงเมขลารามสูรโดยถือเป็นมงคล มีหลักฐานว่ามีอยู่ในราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นต้นตำรับของละครใน ซึ่งตกทอดมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์[16] ส่วนโรงละครเองก็ประดับประดารูปสลักหรือภาพวาดเมขลารามสูรล่อแก้วถือเป็นมงคลอีกเช่นกัน[6]

ประเทศจีน

ตามคติจีน มีเทพที่ใกล้เคียงกับเมขลาอีกสององค์คือเง็กนึ้ง (จีน: 玉女; พินอิน: yùnǚ; แปลว่า "นางหยก") และอีกองค์คือเตียนบ๊อ (จีน: 電母; พินอิน: diàn mǔ; แปลว่า "เจ้าแห่งสายฟ้า") ต่างกับเมขลาคือถือธงหรือกระจกเงาให้มีแสงแวบวับเป็นสัญญาณให้ลุ่ยกง (จีน: 雷公; พินอิน: léi gōng; แปลว่า "เจ้าแห่งฟ้าร้อง") รู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษด้วยการใช้ฟ้าผ่า[17]

ประเทศศรีลังกา

ปรากฏในกาพย์ของชาวทมิฬ เรื่อง มณิเมกะไล (ทมิฬ: மணிமேகலை)[18][19] เป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเล โดยถือเป็นเทพสตรีที่นอนหลับไหลอยู่บนเกาะมณีปัลลาวัม (ปัจจุบันคือ เกาะนยิณาตีวู) รจนาขึ้นโดยจิตตาไล จัตตานาร์ ถือเป็นมหากาพย์หนึ่งในห้าที่มีชื่อเสียงของชาวทมิฬ[20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมขลา http://www.natasinsamphan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E... http://music.sanook.com/2385385/ http://music.sanook.com/460/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%... http://www.scene4.com/archivesqv6/jul-2006/html/ya... http://www.sujitwongthes.com/2012/10/siam08102555/ http://www.thaifolk.com/doc/mekkala.htm http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/4_drav/... http://www.seaconsortium.net/autopagev4/show_page.... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27... http://www.projectmadurai.org/pmworks.html